ถ้าคุณมีเงิน 1 ล้านบาท คุณจะบริหารอย่างไร หรือจะเอาไปทำอะไรบ้าง?


yourueng ในกูเกิลกูรู ตอบเมื่อ 18 ก.ค. 2552, 13:01:18 ดังนี้

- ซื้อวัวสองตัวเป็นเงินหนึ่งหมื่นบาท

- เอาหม้อแปลงลง ต่อไฟเข้าเครื่องสีข้าว เป็นเงินสองหมื่นห้าพันบาท

- ปรับปรุงบ่อเลี้ยงปลาให้ตื้นขึ้น เอาพันธุ์ปลามาเลี้ยง ในงบประมาณห้าพันบาท

- เปิดออฟฟิศเล็กๆ จ้างแรงงานแม่บ้านในหมู่บ้านทำสินค้าหัตถกรรม เอาขึ้นขายบนเน็ต ในงบประมาณหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

- รับงานออกแบบกราฟิกในบริษัท และเป็นนายหน้าขายบ้าน ที่ดิน อสังหาริมทรพย์

- ตั้งศูนย์ดูแลเด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาสแถว ๆบ้าน มีงบประมาณหนึ่งเสนห้าหมื่นบาท โดยเด็กที่อยู่ในความดูแลถูกนำมาจากเด็กที่พ่อแม่เอามาขอทานที่เมืองพัทยา

- เงินที่เหลือเอาไว้ให้ลูกเรียนหนังสือ และปรับปรุงที่อยู่อาศัยนิดหน่อย
Read more >>

กระแสการช่วยเหลือเด็ก ในประเทศญี่ปุ่น

 
 
 
เมื่อ 10 ม.ค.2554

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หน้ากากเสือ การ์ตูนยอดฮิตในยุค 60 กลับมาปลุกกระแสทำดีในญี่ปุ่น หลังจากมีบุคคลนิรนามคนหนึ่ง เลียนแบบฮีโร่หน้ากากเสือ

ด้วยการทิ้งกล่องของขวัญไว้ตามสถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสหลายแห่ง ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมา

โดยการวางของขวัญไว้ตามสถานสงเคราะห์เด็ก ผู้บริจาครายนี้ไม่ได้ระบุนามจริงแต่อย่างใด เพียงแต่เขียนข้อความกำกับไว้ว่า ของขวัญดังกล่าวมาจาก

นาโอโตะ ดาเตะ นักมวยปล้ำเจ้าของฉายาหน้ากากเสือ ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนยอดนิยมในญี่ปุ่นเมื่อ 50 ปีก่อน

หลังจากพฤติกรรมการบริจาคของให้เด็กโดยไม่หวังผลตอบแทน ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วญี่ปุ่นตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ได้มีบุคคลนิรนามอีกหลายราย ที่เลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลนิรนาม "นาโอโตะ ดาเตะ" โดยพวกเขาได้นำกล่องบรรจุของเล่น เครื่องเขียน เงิน และอาหาร ไปวางไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีเด็ก ตั้งแต่สถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาส ไปจนถึงร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียนเลยทีเดียว

โดยบุคคลนิรนามรายหนึ่งได้ระบุข้อความไว้ว่า เขาเลียนแบบฮีโร่หน้ากากเสือ และตอนนี้ดูเหมือนว่าฮีโร่หน้ากากเสือจะมีอยู่ทั่วประเทศ กรุณานำเงินและสิ่งของนี้ไปใช้ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสด้วย

สำหรับ ฮีโร่หน้ากากเสือ เป็นการ์ตูนที่บอกเล่าเรื่องราวของนักมวยปล้ำคนหนึ่งชื่อ นาโอโตะ ดาเตะ ที่เติบโตขึ้นจากบ้านเด็กกำพร้า แล้วฝึกฝนมวยปล้ำกับฝ่ายอธรรม

Read more >>

โครงการอ่านสร้างชาติ มูลนิธิกระจกเงา

เว็บไซต์ http://www.mirror.or.th/read4thai/

ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) นักปรัชญาชาวอังกฤษ กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านว่า ”การอ่านทำให้คนเป็นคนโดยสมบูรณ์ ”

"การสร้างวัฒนธรรมการอ่านหนังสือจะสร้างความเปลี่ยนแปลง" อย่างไม่ต้องสงสัย มีตัวอย่างยืนยันมากมายทั้งในระดับบุคคลตลอดจนระดับชาติ เช่น ประเทศที่พัฒนาแล้ว ล้วนมีนโยบายส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องและจริงจัง บนฐานความจริง มีหนังสือดีๆ ผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่อยู่ในมือของผู้อ่านที่มีโอกาส หากสามารถเคลื่อนย้ายทรัพยากรนี้ไปถึงผู้อื่นๆ ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือ ก็จะทำให้เกิดการเพิ่มคุณค่าของหนังสือดีมือสอง

เราเชื่อว่าการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมหนังสือมือสอง จะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างกว้างขวาง ที่สำคัญที่สุดเราเชื่อว่าการจัดการเรื่องหนังสือรับบริจาคที่ดี ผู้รับหนังสือต้องเป็นผู้เลือกหนังสือที่ตัวเองต้องการ เพราะจะก่อให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืน เพราะการเริ่มต้นที่ตัวเองเลือกและเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ถูกกำหนดแบบยัดเยียด 

ท้ายสุดเราเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมเรื่องจิตสาธารณะ การให้และการแบ่งปันที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมอย่างง่ายๆ ทั้งเป็นผู้บริจาคหนังสือดีมือสอง เป็นอาสาสมัครในกระบวนการจัดการหนังสือบริจาค

"หนังสือ มีส่วนร่วมช่วยสร้างความสำเร็จในการดำรงชีวิต เป็นรากฐานของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้"

ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตแทบทุกคนล้วนแต่กล่าวถึงความสำคัญของการอ่าน เพราะการอ่านเป็นการพัฒนาซีวิต ฝึกสมองให้คิดเฉียบคมมากขึ้น ทำให้รู้ทันโลก ทันคน รู้จักตนเอง การอ่านสามารถสร้างคนให้มีลักษณะหรือบุคลิกของการเป็นคนที่คิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดรอบคอบ และสร้างสิ่งดีๆ ให้กับตนเองและสังคม

แต่ในปัจจุบันคนไทยอ่านหนังสือน้อย เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง ประเทศสิงคโปร์ ประชากรมีสถิติการอ่านหนังสือสูงถึงปีละ 40-50 เล่มประเทศเวียดนามประชากรอ่านหนังสือประมาณ 60 เล่มต่อปี ขณะที่ประชากรในประเทศไทยมีสถิติการอ่านหนังสืออยู่เพียง 2 เล่มต่อปีเท่านั้นด้วยหนังสือดีมือสอง จะช่วยแก้ปัญหา

1. ประชากรนอกเขตเทศบาลมีการอ่านน้อยกว่าประชากรในเขตเทศบาล
2. หนังสือมีราคาแพง
3. ขาดโอกาสการเข้าถึงแหล่งบริการ เช่น ร้านหนังสือน้อย ไม่มีห้องสมุดหมู่บ้าน
4. ห้องสมุดโรงเรียนได้รับงบประมาณน้อยจึงขาดความหลากหลายในการเลือกซื้อหนังสือ

วัตถุประสงค์

- เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทย
- เพื่อยกระดับคุณภาพการอ่านเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม
- เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการการรับบริจาคหนังสือมือสอง
- เพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน

กลุ่มเป้าหมาย

1. กลุ่มเป้าหมายในการรับหนังสือ

- ห้องสมุดโรงเรียน
- ห้องสมุดชุมชน
- กลุ่มองค์กรชาวบ้าน
- เด็กและเยาวชนผ้ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือ

2. กลุ่มเป้าหมายในการบริจาคหนังสือ

- พนักงานบริษัท
- คนชั้นกลางที่ชอบอ่านหนังสือ
- นักเรียนในเมือง

เป้าหมาย

- เพื่อสร้างวัฒนาธรรมการอ่านของคนไทย
- เพื่อเกิดศูนย์รับบริจาคและบริหารหนังสือมือสองที่ยั่งยืน สังคม
Read more >>

โครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อน้อง (com4child)

มูลนิธิกระจกเงา รับบริจาคคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาซ่อมแซม ส่งต่อให้กับน้องๆ ผู้ขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกล

"คอมพิวเตอร์เก่า อย่าทิ้ง...
ยังมีน้องๆ ที่ยังต้องการ
เพื่อให้ พวกเขาได้มีโอกาสในการศึกษามากขึ้นกับ"

"โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง"

โครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อน้อง (com4child)
มูลนิธิกระจกเงา ขอเชิญชวนบริจาคคอมพิวเตอร์
หรือทุนสนับสนุนให้กับน้องๆ ในชนบท เพื่อสร้าง
โอกาสทางการศึกษาให้เกิดขึ้นแก่พวกเขา

จาก ข้อมูลของ กระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2551 สถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีคอมพิวตอร์เพื่อใช้ในการศึกษา ประมาณ 200,000 เครื่องเท่านั้น ทั่วประเทศไทย หรือคิดเป็นสัดส่วน "คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ต่อ นักเรียน 40 คน" นั่นเป็นสิ่งที่โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง จึงรับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสภาพใช้การได้ หรือชำรุด นำมาปรับปรุง จนอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และส่งให้กับโรงเรียนต่างๆ ทางภาคอีสาน และภาคเหนือ

ซึ่ง ขณะนี้ทางโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง ยังต้องการคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะยังคงมีน้องๆ ในโรงเรียนที่ต้องการคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียนรู้นั้น ยังมีความต้องการอีกเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถบริจาคคอมพิวเตอร์ หรือทุนสนับสนุนเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงคอมพิวเตอร์เหล่านี้ โดยท่านสามารถนำคอมพิวเตอร์มาบริจาคได้ที่

โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี 62 ถนนวิภาวดี-รังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-973-2236ถึง7 ต่อ 112

หรือ บริจาคทุนทรัพย์ ได้ที่ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" ธนาคารกรุงไทย สาขานานาเหนือ เลขที่บัญชี 000 - 0 - 01369 - 2 ประเภทออมทรัพย์ หรือ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาไชยศ เลขที่บัญชี 040 - 2 -37446 - 1 ประเภทออมทรัพย์

จาก ทุกความช่วยเหลือในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดการพัฒนาความคิด และการศึกษาให้กับพวกเขาอย่างไม่สิ้นสุด ไม่ใช่แค่ชิ้นส่วนที่ไร้ ไม่ใช่แค่น้ำใจอันเล็กน้อย แต่ทุกความช่วยเหลือคือ "อนาคต" สำหรับเด็กเหล่านี้
Read more >>

ห้องสมุดหลังที่ 23 เอไอเอ เปิดโลกการเรียนรู้สู่เด็กห่างไกล

โดย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เมื่อ 26 มิ.ย.2555

เหนือจากเอไอเอจะมีโครงการ "เอไอเอ สร้างรอยยิ้ม" ให้การสนับสนุนการผ่าตัดแก่ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และ "เอไอเอ เพื่อก้าวใหม่ ชีวิตใหม่" มอบขาเทียมแก่คนพิการเพื่อให้สามารถเดินได้ตามปกติ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมหลักแล้ว

บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด หรือเอไอเอ ยังได้จับงานด้านการศึกษาอีกทางหนึ่ง คือการสร้างห้องสมุดให้กับโรงเรียน จนถึงตอนนื้ เอไอเอได้มอบห้องสมุดให้โรงเรียน 23 แห่งแล้ว โดยล่าสุดได้มอบให้กับโรงเรียนบ้านพรุดินนา จ.กระบี่

"สุทธิ รจิตรังสรรค์" รองประธานอาวุโสฝ่ายบริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า ปกติได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนผ่านมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งมองว่าเป็นการให้เงินแล้วจบไป จึงต่อยอดมาทำห้องสมุดให้โรงเรียนที่เป็นเรื่องระยะยาวกว่า และเข้าถึงเด็กได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็เห็นว่าโรงเรียนบางแห่งไม่มีห้องสมุด หรือมีแล้วก็ไม่ได้อยู่ในลักษณะห้องสมุดที่ดี

"เราอยากให้เด็กได้รับสิ่งที่ดี ให้เขาได้เรียนรู้เหมือนเด็กที่อยู่ในเมือง จึงเริ่มทำโครงการตั้งแต่ปี 2548 ทำมาปีละ 3-4 แห่ง ไม่ได้วางเป้าหมายว่าต้องทำให้ครบกี่แห่ง แต่ทำไปเรื่อย ๆ ตามโอกาสที่มี เพราะอยากให้เป็นโครงการระยะยาว ซึ่งธุรกิจของเราเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคน จึงต้องช่วยดูแลสังคม เชื่อมโยงกับชุมชน ซึ่งกิจกรรมแบบนี้จะเป็นประโยชน์กับชุมชน แล้วพนักงานของเราก็เกิดความผูกพันกับสังคมด้วย"

เกณฑ์การมอบห้องสมุดจะคัดเลือกโรงเรียนที่ขาดแคลนห้องสมุดเป็นเบื้องต้น โดยต้องเป็นโรงเรียนที่สอนระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา 3 มีนักเรียน 300 คนขึ้นไป และอยู่ในเขตชุมชน โดยโรงเรียนต้องอนุญาตให้ประชาชนในชุมชนใช้ห้องสมุด และถือห้องสมุดนี้เป็นเหมือนห้องสมุดของชุมชนทางหนึ่ง ส่วนโรงเรียนที่มีห้องสมุดอยู่แล้ว จะย้ายไปอยู่ห้องสมุดใหม่ เพื่อง่ายต่อการจัดระบบ และการดูแลของบรรณารักษ์ โดยห้องสมุดเดิมก็จะปรับเปลี่ยนใช้ทำกิจกรรมอื่นต่อไป

นอกจากมอบห้องสมุดแล้ว ยังมอบหนังสือประเภทต่าง ๆ ตลอดจนถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ขนาดความจุ 2,500 ลิตร เพื่อให้ชาวบ้านได้เก็บน้ำสะอาดใช้ในหน้าแล้ง เนื่องจากบางพื้นที่ขาดแคลนน้ำ

และขาดระบบจัดเก็บน้ำที่ดี จึงต้องซื้อน้ำใช้อยู่

"ที่ผ่านมา พบว่าห้องสมุดไม่ได้เป็นสถานที่อ่านหนังสืออย่างเดียว โรงเรียนบางแห่ง ครูอาศัยห้องสมุดเป็นสถานที่ทำกิจกรรมระหว่างเรียน และเมื่อให้ชุมชนได้เข้ามาใช้ห้องสมุดร่วมด้วย ผู้ปกครองจะได้ใช้เวลาในการอ่านหนังสือระหว่างมารอรับลูกหลาน และยังเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยพบว่าชุมชนได้เข้ามาช่วยปรับปรุงสถานที่ให้โรงเรียน หรือนำหนังสือมาให้เพิ่มเติม"

อนึ่ง ห้องสมุดที่เอไอเอมอบให้แต่ละโรงเรียนจะมีรูปแบบเดียวกันหมด คือมีขนาด 54 ตร.ม. (ไม่รวมพื้นที่ระเบียง) ภายในจะมีชั้นวางหนังสือประมาณ 3-4 ชั้น, โต๊ะขนาดกลางพร้อมเก้าอี้นั่ง 2 ชุด ทั้งยังมีมุมนั่งเล่นของเด็ก และมุมของบรรณารักษ์ ซึ่งเทียบสัดส่วนของพื้นที่กับจำนวนเด็กแล้ว ถือว่าขนาดของพื้นที่ค่อนข้างเล็ก หากลักษณะการใช้ห้องสมุดเป็นการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนการใช้ หรือเข้ามายืมหนังสือแล้วออกไป คงไม่มีปัญหามากนัก แต่ถ้าในช่วงเวลาว่างแล้ว นักเรียนจำนวนมากต่างเข้ามาหาความรู้พร้อมกัน ก็อาจเกิดความคับแคบอยู่บ้าง

ดังนั้น ถ้าปรับรูปแบบของห้องสมุดให้เป็นไปตามพื้นที่ใช้สอย และจำนวนนักเรียนของแต่ละแห่ง ก็จะเป็นการดี เพราะยิ่งมีพื้นที่กว้าง ก็จะสามารถมีพื้นที่สำหรับเด็ก หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้
Read more >>